ตลท.ชี้ “หุ้นไทย” ปี 65 แข็งแกร่ง สารพัดปัจจัยบวกดึงดูดฟันด์โฟลว์

ตลท.มั่นใจแนวโน้มหุ้นไทยปี 65 แข็งแกร่ง จากปัจจัยบวก “โควิดคลี่คลาย-คาดการณ์จีดีพีโต-กลุ่มหุ้นคุณค่ากลับมาเคลื่อนไหวโดดเด่น-พี/อีปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 8 ปี” หนุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง 2 เดือน รวมกว่า 3.6 หมื่นล้าน

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นปี 2565 มีแนวโน้มเป็นบวกมากขึ้น เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาสนับสนุน ทั้งสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น ภายหลังอัตราการฉีดวัคซีนเร่งตัวขึ้น

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตดีขึ้น สะท้อนจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีอาเซียนเป็น 3.1% จากเดิมคาดเติบโตเพียง 2.9% สวนทางกับประเทศพัฒนาแล้วที่ IMF คงคาดการณ์จีดีพี ส่วนสหรัฐถูกปรับลดคาดการณ์จีดีพีลง

ถัดมา คือ ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของกลุ่มหุ้นที่เดิมปรับขึ้นได้ช้ากว่าตลาด (แลกการ์ด) โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นคุณค่า (Value Stock) เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคาร ที่กลับมาโดดเด่นในปีนี้ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อน้อยกว่ากลุ่มหุ้นเติบโต (Growth Stock) ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนกลุ่มหุ้นดังกล่าวในระดับที่สูง

นอกจากนี้ มูลค่า (Valutaion) ของตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่แพง โดยอัตราส่วนราคาต่อกำไรย้อนหลัง (Historical P/E) อยู่ที่ 14.85 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 8 ปี สวนทางกับคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ปี 2565 ของตลาดที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 93.15 บาท ซึ่งกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้ว โดยคาดว่า P/E ของตลาดหุ้นไทยอาจปรับตัวลงได้มากกว่าระดับปัจจุบัน หากคาดการณ์กำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปรับขึ้นต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากปัจจัยบวกข้างต้นส่งผลให้กระแสเงินลงทุน (ฟันด์โฟลว์) ของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยในเดือน ม.ค.2565 นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิ 432 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.4 หมื่นล้านบาท) ต่อเนื่องจากเดือน ธ.ค.2564 ที่มียอดซื้อสุทธิ 695 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 หมื่นล้านบาท)

“นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นเดือนที่ 2 โดยคาดว่าเป็นผลจากที่ตลาดหุ้นเราเริ่มฟื้นตัวชัดเจน อีกทั้งต่างประเทศมีแรงกดดันจากสัญญาณเงินเฟ้อที่รุนแรงขึ้น และดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติต้องหาที่พักเงิน ขณะที่ตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วน Value Stock เยอะ หนุนให้เงินไหลเข้า แต่แนวโน้มข้างหน้ายังต้องติดตามต่อเนื่อง”

อย่างไรก็ดี กลุ่มนักลงทุนรายย่อยในประเทศยังครองสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสูงสุดต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือน ม.ค. มีสัดส่วนอยู่ที่ 44.57% ของมูลค่าการซื้อขายรวม รองลงมา คือ นักลงทุนต่างชาติที่ 39.83% บัญชีหลักทรัพย์ 8.11% และกองทุนในประเทศ 7.49% ภายหลังจากปี 2564 นักลงทุนรายย่อยเข้ามาเปิดบัญชีใหม่กว่า 1.6 ล้านบัญชี คิดเป็น 40% ของจำนวนบัญชีรวมทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีการซื้อขายต่อเนื่อง (Activeness) สูงถึง 50%

ในการนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์การลงทุนของนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว โดยปีนี้จะเน้นการออกผลิตภัณฑ์ประเภทตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ (DR) และกองทุนรวมดัชนี (ETF) มากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ด้วยเงินบาท

สำหรับ DR จะเน้นการออก DR ที่ไม่ต้องลงทุนเต็มจำนวนหุ้นอ้างอิงนั้นๆ (Fractional DR) ซึ่งช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีสถาบันการเงินออก Fractional DR อ้างอิงหุ้นจีนไปแล้ว ขณะที่ในไตรมาส 3 ปี 2565 ตลท.มีแผนออก Fractional DR ที่อ้างอิงหุ้นสหรัฐและหุ้นยุโรปเพิ่มเติม เช่นเดียวกับ ETF ที่มีแผนออก ETF อ้างอิงกลุ่มหุ้น ประเทศ และประเทศที่น่าสนใจ รวมถึงการออกเป็นธีมลงทุน

อ้างอิง
https://www.bangkokbiznews.com/business

ตลท.มั่นใจแนวโน้มหุ้นไทยปี 65 แข็งแกร่ง จากปัจจัยบวก “โควิดคลี่คลาย-คาดการณ์จีดีพีโต-กลุ่มหุ้นคุณค่ากลับมาเคลื่อนไหวโดดเด่น-พี/อีปรับตัวลงต่ำสุดในรอบ 8 ปี” หนุนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง 2 เดือน รวมกว่า 3.6 หมื่นล้าน นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นปี 2565 มีแนวโน้มเป็นบวกมากขึ้น เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาสนับสนุน ทั้งสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น ภายหลังอัตราการฉีดวัคซีนเร่งตัวขึ้น ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตดีขึ้น สะท้อนจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีอาเซียนเป็น 3.1% จากเดิมคาดเติบโตเพียง 2.9% สวนทางกับประเทศพัฒนาแล้วที่ IMF คงคาดการณ์จีดีพี ส่วนสหรัฐถูกปรับลดคาดการณ์จีดีพีลง ถัดมา คือ ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของกลุ่มหุ้นที่เดิมปรับขึ้นได้ช้ากว่าตลาด (แลกการ์ด) โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นคุณค่า (Value Stock) เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคาร ที่กลับมาโดดเด่นในปีนี้ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อน้อยกว่ากลุ่มหุ้นเติบโต (Growth Stock) ซึ่งตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนกลุ่มหุ้นดังกล่าวในระดับที่สูง นอกจากนี้ มูลค่า (Valutaion)…